หัตถกรรมจักสาน เป็นหลักฐานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ และลักษณะของความเป็นภูมิปัญญาได้เป็นอย่างดี ปรากฎให้เห็นผ่านเครื่องมือเครื่องใช้จากภูมิปัญญาชาวบ้านสู่ปัญญาชนคนรุ่นหลัง อาศัยทักษะและเน้นประโยชน์ใช้สอยโดยทั่วไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่แสดงให้เห็นถึงสิ่งของสนองความเชื่อทสงด้านประเพณี วัฒนธรรม และอารยธรรมส่งผลให้งานหัตกรรมมีความงามและคุณค่าทางศิลปะ
“สืบสาน รักษา และต่อยอด”
งานหัตกรรมของช่างไทย ผ่านฝีมือคนรุ่นใหม่ ที่นับวันจะถอยห่าง
ผู้ออกแบบจึงนำงานหัตถกรรมพื้นบ้าน สร้างเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ นำเสนอเป็นชุดทำงานสตรี แต่ยังโดดเด่นด้วยรูปทรงที่เรียบง่าย สร้างสรรค์เครื่องแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมืองเชียงรายผสมผสานผ้าจกไทยวน จังหวัดราชบุรี ตกแต่งด้วยผ้าปักมือชาวเขา และเทปเผ่าลีซอบรรจงในรายละเอียด พิถีพิถันใช้เทคนิคที่ทำด้วยมือในชื่อชุดว่า “หัตถศิลป์ถิ่นล้านนา”
ผ้าจากภาคต่าง ๆ ในประเทศไทยที่ใช้
ผ้าจกไทยวน จังหวัดราชบุรี
การทอผ้าจกเป็นการทอและทำให้เกิดลวดลายผ้าไปพร้อมๆ กัน การจกคือการทอลวดลาย
บนผืนผ้าด้วยวิธีการเพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ไม่ติดต่อกันตลอดหน้ากว้างของผ้า การจกจะใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วมือยกขึ้นจก (ควัก)เส้นด้ายสีสันต่างๆ ขึ้นมาบนเส้นยืน
ให้เกิดลวดลาย
ผ้าชาติพันธุ์เชียงรายที่ใช้
ผ้าใยกัญชง เชียงราย
ผ้าใยกัญชงมีจุดเด่นในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน สวมใส่เย็นสบายในหน้าร้อน ระบายความร้อนได้ดี ขณะเดียวกันก็ให้ความอบอุ่นในหน้าหนาว
เทปผ้าเผ่าลีซอ